การป้องกันโรคในเด็กมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก เพราะในวัยเด็กยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง ดังนั้นคุณพ่อ คุณแม่ ควรเตรียมแผนในการการป้องกันหรือแผนการรักษาโรค เผื่อไว้จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด
การป้องกันโรคเปรียบเสมือนกำแพงป้องกันแรก ที่จะช่วยให้เด็กๆ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนการรักษาก็เปรียบเสมือนกำแพงชั้นที่สอง ที่จะช่วยให้เด็กๆ ที่ป่วยแล้วกลับมาเป็นปกติได้ไวที่สุด ไปดูกันเลยว่า 5 โรคในเด็กยอดฮิต ประจำปี 2024 ที่พ่อแม่ควรรู้ไว้ เพื่อจะได้รู้ถึงสาเหตุและอาการ หากเป็นแล้วจะป้องกันและรักษายังไง ค่าใช้จ่ายในการรักษาเท่าไหร่ ไปดูกันเลยค่ะ
1. โรคไข้หวัดใหญ่
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) เป็นโรคในเด็กที่พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว สามารถติดต่อได้ผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้ออยู่ หรือการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย อาการของโรคไข้หวัดใหญ่จะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่จะมีความรุนแรงมากกว่า คุณพ่อ คุณแม่ ต้องพยายามสังเกตุอาการลูกน้อยให้ดีดีนะคะ
อาการของไข้หวัดใหญ่
สำหรับอาการทั่วไปจะมีตั้งแต่ ไข้สูง หนาวสั่น ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในเด็กเล็กอาจจะมีอาการเพิ่มเติมเช่น อาเจียนหรือถ่ายเหลวได้
การรักษา ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำให้มาก
- ทานยา paracetamol เพื่อลดไข้
- ทานยาแก้ไอ
- ทานยาแก้เจ็บคอ
การป้องกันสำหรับเด็ก
การป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้เด็กเล็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี นอกจากนี้ ควรล้างมือบ่อยๆ ปิดปากเวลาไอจาม ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
อ่านเพิ่มเติม : ไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกัน กี่วันหาย
2. โรคมือ เท้า ปาก
โรคมือเท้าปาก เป็นอีกหนึ่งโรคในเด็กที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) และเป็นโรคติดต่อ ที่มักพบได้บ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักมีการระบาดในช่วงฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่อากาศเย็นและชื้น โดยสามารถติดต่อได้ผ่าน ละอองฝอยจากการไอหรือจาม การสัมผัสน้ำลาย อุจจาระ ของผู้ป่วย การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้ออยู่
อาการของโรคมือเท้าปาก
อาการโรคมือเท้าปาก มักเริ่มต้นด้วยไข้ เจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ต่อมามีตุ่มใสหรือแผลร้อนในปาก บางคนอาจมีผื่นแดงหรือตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า รอบก้นและอวัยวะเพศ อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาร่วมด้วย
การรักษาโรคมือเท้าปาก
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำให้มาก
- ทานยา paracetamol เพื่อลดไข้
- ทานยาแก้เจ็บคอ
- ทายาที่ตุ่ม
การป้องกันโรคมือเท้าปาก
การป้องกันโรคมือเท้าปาก ที่ดีที่สุดคือการรักษาสุขอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
อ่านเพิ่มเติม : โรคมือเท้าปาก สาเหตุ อาการและการรักษา รู้ทันป้องกันได้
3. โรค RSV
โรค RSV ย่อมาจาก Respiratory Syncytial Virus เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่างที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV สามารถติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักจะเกิดในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศไทยอาจมักจะระบาดในช่วงปลายฝนต้นหนาว เชื้อสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองฝอยจากการไอหรือจามของผู้ป่วย เป็นต้น
อาการของโรค RSV
อาการเริ่มแรกของการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี มักคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ ไอ น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ ปวดหัว ซึม ในเด็กเล็กอาจจะมีอาการเพิ่มเติม เช่น หายใจเร็ว อกบุ๋ม เป็นต้น
การรักษาโรค RSV
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ทานยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาแก้น้ำมูก ในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆร่วมด้วย เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีอาการรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะดีที่สุด
การป้องกันโรคมือเท้าปาก
การป้องกันสามารถทำได้ง่ายๆ โดยล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรืองดพาลูกน้อยเข้าใกล้ควันบุหรี่ เพราะอาจจะทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการที่รุนแรงได้มากกว่า นอกจากนี้แล้วคุณพ่อ คุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดของเล่นและพื้นผิวที่ลูกสัมผัสบ่อยๆด้วยนะคะ
เกร็ดน่ารู้ : “เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration: FDA) อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันไวรัส ‘Respiratory Syncytial Virus’ หรือ ไวรัส RSV ชนิดแรกของโลก ชื่อว่า “Arexvy” ผลิตโดยบริษัท GlaxoSmithKline Biologicals หรือ GSK ซึ่งเป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลก”
ที่มา : https://www.sdgmove.com/2023/05/11/rsv-vaccine-usa/อ่านเพิ่มเติม : ไวรัส RSV สาเหตุ อาการและวิธีรักษา ภัยร้ายใกล้ตัวเด็กเล็ก
4. โรคไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค มักระบาดในช่วงฤดูฝนที่มียุงลายชุกชุมของทุกปี อาการของโรคมีตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติไปจนถึงเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
อาการของโรคไข้เลือดออก
เด็กที่ได้รับเชื้อไวรัสแดงกีจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน 39-40 องศสเซลเซียส และมักไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร มีผื่นแดงตามผิวหนัง พบได้ประมาณ 50-80% ของผู้ป่วย ลักษณะผื่นเป็นจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายทั่วร่างกายและมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรกของการป่วย ในบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ช็อก หายใจถี่ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้องอย่างรุนแรง ภาวะเลือดออกผิดปกติ เป็นต้น
การรักษาโรคไข้เลือดออก
ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการและประคับประคอง เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวด ยากระตุ้นความดันโลหิต เป็นต้น
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
- ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นนอกบ้านในเวลากลางคืน เพราะยุงชุกชุม
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย หมั่นตรวจสอบและเก็บกวาดภาชนะที่ใส่น้ำขังบริเวณบ้าน เช่น ยางรถยนต์ แจกัน ถังน้ำ ฯลฯ
- ป้องกันไม่ให้ยุงกัด สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว นอนในมุ้ง ทายากันยุง และติดตั้งมุ้งลวด
- การฉีดวัคซีน: วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพสูง แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุ 9-45 ปี
- ปลูกต้นไม้ที่ช่วยไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอม โหระพา
- การฉีดวัคซีนป้องกัน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีน Dengvaxia และ วัคซีน QDenga
อ่านเพิ่มเติม : ไข้เลือดออก สาเหตุ อาการ การรักษา รู้ทันป้องกัน ก่อนสายไป
5. โรคท้องร่วง ท้องเสีย
โรคท้องร่วง หรือ อุจจาระร่วง เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กหยิบจับอะไรก็มักจะเอาเข้าปากอยู่เสมอ สาเหตุของโรคท้องร่วงในเด็ก เกิดได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ อาหารเป็นพิษ แต่ส่วนใหญ่ในเด็กแล้ว มักเกิดการติดเชื้อจากไวรัสมากที่สุด เช่น ไวรัสโรต้า ไวรัสโนโร ไวรัสอะดีโน เป็นต้น
อาการของโรคท้องร่วง ท้องเสีย
ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ ตั้งแต่ จำนวน 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน หรือ ถ่ายเป็นมูกเลือก 1 ครั้ง คือภาวะท้องเสียแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เมื่อลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้
- ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
- อาเจียนบ่อย
- ไข้สูงหรือชัก
- ท้องอืด
- ไม่ยอมกินนมหรืออาหาร
- ดื่มนมหรือน้ำเกลือแร่แล้วยังซึมลง
การรักษาโรคท้องร่วงในเด็ก
หากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักหายเองได้ภายใน 3-7 วัน การรักษาจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ให้เด็กดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ยาแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
เมื่อเด็กมีอาการท้องร่วงหรืออาเจียน เด็กจะมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่ คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามทดแทนน้ำที่เสียไป โดยการให้ลูกดื่มน้ำ นม หรือเกลือแร่เข้าไป โดยอาจจะป้อนทีละน้อย บ่อยๆ สังเกตุอาการ ถ้าลูกดื่มได้โดยไม่อาเจียน ก็สามารถป้อนอาหารอ่อน อย่างพวกข้าวต้มหรือโจ๊กได้ อาการของเด็กจะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ แต่ในกรณีที่ลูกน้อยไม่สามารถดื่มหรือกินอะไรได้เลย อาจจะเพราะอาเจียนมากหรือถ่ายเหลวหลายครั้ง ควรรีบนำลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยทันที อย่าปล่อยไว้นานเพราะอาจทำให้เด็กเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงหรือช็อกได้
การรักษาโรคท้องร่วงในเด็กได้ทันท่วงที จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ภาวะขาดน้ำ ภาวะช็อก เป็นต้น ซึ่งวิธีการรักษาโรคจะขึ้นอยู่กับสาเหตุดังต่อไปนี้
ค่าใช้จ่ายในการรักษา 5 โรคในเด็กที่พบบ่อย
- ไข้หวัดใหญ่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งโดยประมาณ 30,000 – 80,000 บาท
- โรคมือเท้าปาก ค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งโดยประมาณ 30,000 – 120,000 บาท
- โรค RSV ค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งโดยประมาณ 50,000 – 150,000 บาท
- ไข้เลือดออก ค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งโดยประมาณ 50,000 – 100,000 บาท
- โรคท้องร่วง ท้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งโดยประมาณ 20,000 – 50,000 บาท