โดนน้ำร้อนลวกหรือมีแผลไฟไหม้ ถือเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อาจส่งผลให้ได้รับบาดแผลเป็นแผลไฟไหม้ที่รุนแรง ซึ่งนอกจากจะเจ็บปวดทรมานแล้ว ยังอาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้อีก อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่คุณอาจมองข้ามไปคือ การเคลมประกันสำหรับอุบัติเหตุประเภทนี้
หากคุณมีกรมธรรม์ประกันภัยส่วนบุคคลหรือประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล คุณอาจมีสิทธิ์เคลมค่าชดเชยได้ ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าพักรักษาตัว รวมถึงเงินชดเชยจากการบาดเจ็บหรือทุพพลภาพ การตรวจสอบกรมธรรม์ของคุณอย่างละเอียดจึงมีความสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ตามที่ควรจะเป็น
แผลไฟไหม้มีกี่ระดับ
แผลไฟไหม้แบ่งตามระดับความลึกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
แผลไฟไหม้ ระดับ 1 (First degree burn)
แผลไฟไหม้ระดับที่ 1 เป็นแผลไฟไหม้ที่รุนแรงน้อยที่สุด โดยเกิดความเสียหายที่ผิวหนังชั้นนอกสุด (หนังกำพร้า) เท่านั้น ลักษณะของแผลไฟไหม้ระดับที่ 1 คือ ผิวหนังมีสีแดง แห้ง ไม่มีตุ่มน้ำพอง อาจมีอาการบวมเล็กน้อย รู้สึกเจ็บ หรือแสบร้อนบริเวณแผล
ตัวอย่างสาเหตุของแผลไฟไหม้ระดับที่หนึ่ง
- ถูกแสงแดดเผา (Sunburn)
- โดนน้ำร้อนลวก หรือไอน้ำร้อน
- สัมผัสกับวัตถุร้อนจัดในระยะเวลาสั้นๆ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับแผลไฟไหม้ ระดับ 1
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 10-20 นาที
- ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวด และลดการอักเสบ
- ทาครีมบำรุงผิว หรือครีมที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ เพื่อช่วยลดอาการระคายเคือง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลโดยตรง และปิดแผลด้วยผ้าสะอาด
โดยทั่วไป แผลไฟไหม้ระดับที่หนึ่งสามารถรักษาได้เองที่บ้าน โดยใช้ยาบรรเทาอาการปวด และทาครีมบำรุงผิว แผลจะหายได้เองภายใน 7 วัน โดยปกติจะไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
แผลไฟไหม้ ระดับ 2 (Second degree burn)
แผลไฟไหม้ระดับ 2 เป็นแผลไหม้ที่ลึกถึงชั้นหนังแท้ แต่ยังไม่ทะลุถึงชั้นไขมันใต้ผิวหนัง โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโดนของเหลวร้อน เช่น น้ำร้อนลวก น้ำมันลวก การสัมผัสกับวัตถุร้อนจัด สารเคมีบางอย่างหรือไฟตรงๆ เป็นต้น แผลไฟไหม้ระดับสอง แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อยดังนี้
ระดับที่ 2 ชนิดตื้น (Superficial partial-thickness burn)
ผิวหนังชั้นนอกและชั้นหนังแท้ส่วนบนถูกทำลาย มีลักษณะเป็นแผลพุพอง ผิวหนังมีถุงน้ำพองใสๆ ถ้าถุงน้ำแตกออก จะเห็นผิวหนังสีแดงออกชมพูและมีน้ำเหลืองซึม ข้างใน ปวดแสบแผลมาก แต่ผิวหนังยังสามารถสร้างเซลล์ใหม่ได้ หายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์
ระดับที่ 2 ชนิดลึก (Deep partial-thickness burn)
ผิวหนังชั้นนอกและชั้นหนังแท้ส่วนใหญ่ถูกทำลาย มีลักษณะเป็นแผลพุพอง แต่น้ำเหลืองอาจมีสีขุ่นกว่าชนิดตื้น ผิวหนังอาจมีสีขาวซีดหรือจุดๆ แดงๆ อาจไม่รู้สึกเจ็บมากเนื่องจากปลายประสาทถูกทำลาย หายช้ากว่าชนิดตื้น อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ และอาจเกิดแผลเป็นได้
การรักษาแผลไฟไหมระดับ 2
- ระบายความร้อน โดยใช้น้ำสะอาดไหลผ่านบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก ประมาณ 10-20 นาที หรือจนกว่าความปวดแสบปวดร้อนจะลดลง ห้ามใช้น้ำแข็งประคบ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้
- ทำความสะอาดแผล ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อนๆ ซับแผลให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
- ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่สะอาดและไม่เป็นขุย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ สามารถใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาได้ หากมี
- บรรเทาอาการปวด โดยการรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน (มีเคล็ดลับช่วยลดอาการปวด ในห้วข้อด้านล่าง)
- หากแผลมีขนาดใหญ่ หรือมีอาการปวดมาก ควรรีบไปพบแพทย์
ข้อควรระวัง
ห้ามเจาะตุ่มน้ำ เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อได้ และไม่ควรทาสิ่งแปลกลงบนแผลนอกจากจะได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะความเชื่อผิดๆ เช่น ใช้ยาสีฟัน หรือน้ำปลามาทาแผล เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อและรักษายากขึ้น
แผลไฟไหม้ ระดับ 3 (Third degree burn)
เป็นแผลไหม้ที่รุนแรงที่สุด โดยทำลายผิวหนังทั้งหมดทั้งชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ รวมถึงชั้นไขมัน เส้นประสาท และอาจลึกถึงกล้ามเนื้อหรือกระดูก ลักษณะของแผลไฟไหม้ระดับที่สามแผลจะแห้ง แข็ง เหมือนแผ่นหนัง อาจมีรอยไหม้เกรียม หรือเป็นหลุมลึก ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดที่แผลเนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลาย อาจมีอาการชาบริเวณรอบๆ แผล แผลนี้ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถหายได้เอง อาจต้องผ่าตัดปลูกผิวหนัง
การรักษาแผลไฟไหม้ระดับที่ 3
- แผลไฟไหม้ระดับที่ 3 ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ทันที
- อาจต้องได้รับการผ่าตัดปลูกผิวหนัง เพื่อปิดแผลและป้องกันการติดเชื้อ
- อาจต้องได้รับการรักษาอื่นๆ เช่น การให้น้ำเกลือ การให้ยาปฏิชีวนะ การทำกายภาพบำบัด
ภาวะแทรกซ้อนของแผลไฟไหม้ระดับที่ 3
- การติดเชื้อ
- การสูญเสียน้ำและเกลือแร่
- การเกิดแผลเป็น
- ภาวะช็อก
- ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดบวม ภาวะไตวาย
ข้อควรระวัง
แผลไฟไหม้ระดับที่ 3 เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที ไม่ควรพยายามลอกหรือแกะผิวหนังที่ไหม้ออกและไม่ควรทาสิ่งใดๆ บนแผล เช่น ยาสีฟัน เนย น้ำมัน น้ำปลา ฯลฯ เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้อได้
ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อโดนแผลไฟไหม้
- ออกจากแหล่งความร้อน: รีบนำผู้บาดเจ็บออกจากบริเวณที่มีน้ำมันร้อนทันที เพื่อป้องกันการลุกลามของแผลไหม้
- ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับ: ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่เปื้อนน้ำมันออกอย่างระมัดระวัง หากเสื้อผ้าติดกับผิวหนังให้หยุดดึงและตัดออกรอบๆ บริเวณที่ติด
- ลดอุณหภูมิ: ใช้น้ำสะอาดไหลผ่านบริเวณที่ถูกน้ำมันลวก เป็นเวลาอย่างน้อย 10-20 นาที หรือจนกว่าความปวดแสบปวดร้อนจะลดลง ห้ามใช้น้ำแข็งประคบ เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อเสียหายมากขึ้น
- ประเมินความรุนแรงของแผล:
- แผลไหม้ระดับที่หนึ่ง: ผิวหนังแดง ปวดแสบปวดร้อน ให้ทำความสะอาดแผลและปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่สะอาด
- แผลไหม้ระดับที่สอง: มีตุ่มพองใสหรือแผลเปิด ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่สะอาด ห้ามเจาะตุ่มพอง
- แผลไหม้ระดับที่สาม: ผิวหนังไหม้เป็นสีขาว เทา หรือดำ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
- นำส่งโรงพยาบาล: หากแผลไหม้มีขนาดใหญ่ มีตุ่มพอง หรือมีอาการปวดมาก ควรรีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที
สิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม:
- หากผู้บาดเจ็บมีอาการหายใจลำบาก หน้ามืด เป็นลม ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลทันที
- ให้ผู้บาดเจ็บดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- หากผู้บาดเจ็บมีอาการปวดมาก สามารถให้รับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลได้
แนะนำวิธีบรรเทาอาการปวดเมื่อโดนน้ำมันหรือน้ำร้อนลวก
แผลไฟไหม้ในระดับ 1 หรือในระดับที่ 2 ชนิดตื้น และไม่เป็นวงกว้าง สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน หลังจากที่มีแผลเกิดขึ้นจะรู้สึกเจ็บปวดทรมาณมาก มากแบบสุดๆ เกินบรรยายเลย แต่วิธีที่ทำให้อาการเจ็บปวดทุเลาลงได้คือความเย็น
อันนี้เล่าจากประสบการณ์ส่วนตัว เคยโดนน้ำมันลวกที่มือ แบบลวกทั้งมือเลย ตอนลวกใหม่ๆจะมีอาการเจ็บปวดทรมานมาก แต่ใช้วิธีเปิดแอร์เย็นๆและใช้พัดลมเป่ามือ ซึ่งทำให้อาการเจ็บ ปวด แสบร้อนมือหายไปได้เยอะมาก เรียกว่าแทบจะไม่ปวดเลยด้วยซ้ำ เมื่อมือถูกลมเย็น แต่พอเอาออกจากที่เย็นเท่านั้นแหละ ความเจ็บปวดกลับมา แบบเหมือนเอามือไปวางบนไฟอีกรอบเลย
โดยอาการปวดแบบนี้ที่เคยเจอมาจะยาวนานได้ถึง 10 ชั่วโมงเลย (อันนี้แล้วแต่ขนาดของแผล) แต่หลังจากนั้นอาการปวดก็จะไม่ค่อยมีแล้ว แต่จะเกิดตุ่มพุพองขึ้นมาแทน ซึ่งหากไม่ใหญ่มาก สามารถรักษาได้เองที่บ้าน แผลจะค่อยๆหายเองได้ โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ แต่กรณีของผู้เขียนเอง เป็นแผลที่โดนน้ำมันลวกทั้งมือ แผลเลยใหญ่ และกว้าง ทำให้มีตุ่มขึ้นมาใหญ่พอสมควร เลยต้องรีบไปหาหมอเพื่อให้หมอเจาะเอาตุ่มน้ำออก (ตอนเจาะไม่เจ็บเท่าไหร่ เหมือนมดกัดนิดๆ) หมอบอกว่าอาการของเราเป็นไฟไหม้ระดับที่ 2 ชนิดตื้น แต่คิดเป็น 10% ของร่างกาย
หมอบอกว่าตุ่มน้ำใสๆอยากเจาะเอง ถ้ามันใหญ่ควรรีบมาหาหมอ แต่ถ้ามันเล็กๆ พยายามรักษาความสะอาดและอย่าให้โดนน้ำก็พอ มันสามารถหายได้เอง
ประกันภัยคุ้มครองแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกหรือไม่?
ประกันภัยบางประเภทคุ้มครองแผลไฟไหม้ ขึ้นอยู่กับชนิดของประกันภัยและเงื่อนไขความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยทั่วไปมีประกันภัย 2 ประเภทหลักที่อาจคุ้มครองแผลไฟไหม้ ได้แก่
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)
ประกันประเภทนี้คุ้มครองการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งรวมถึงแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ไฟฟ้าช็อต ด้วย โดยจะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ทั้งในตอนที่เราเข้ารักษา หรือตอนหมอนัดให้ไปล้างแผลก็ยังครอบคลุม
ส่วนใครที่สนใจทำประกันอุบัติเหตุไว้สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย : ทำประกันอุบัติเหตุ AIA
ประกันสุขภาพ
ประกันประเภทนี้คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ซึ่งรวมถึงแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกด้วย แต่ความคุ้มครองอาจแตกต่างกันไปตามแผนประกันที่เลือก โดยหลักๆคือประกันสุขภาพแบบมี OPD และไม่มี OPD ถ้าเป็นประกันที่มี OPD สามารถเบิกค่ารักษาได้ตามปกติ แต่ถ้าไม่มีจะต้องเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในภายใน 72 ชั่วโมง ถึงเบิกได้
ประกันสุขภาพ AIA จะมีข้อดีอีกอย่างคือ เมื่อซื้อชดเชยไว้ ก็จะได้เงินชดเชยไปด้วย ซึ่งตรงนี้ ประกันอุบัติเหตุไม่มี สำหรับประกันสุขภาพที่คุ้มครองแผลไฟไหม้และมีค่าชดเชยที่แนะนำคือ
- AIA HB Extra | สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มชดเชยรายได้ คลายกังวลเรื่องการขาดรายได้ในวันที่คุณเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล รับค่าชดเชยรายวัน รวมทั้งกรณี Day Case
- HB | ประกันสุขภาพ – รายได้ไม่สะดุดแม้นอนเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล ชดเชยตามวันที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ด้วยค่าชดเชยรายวันสูงสุดถึง 10,000 บาทต่อวัน
แหล่งอ้างอิง
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล: www.si.mahidol.ac.th/
- โรงพยาบาลขอนแก่น ราม: www.khonkaenram.com/
- Bangkok Hospital: www.bangkokhospital.com/
- โรงพยาบาลนครธน: www.nakornthon.com/