5 โรคหน้าร้อน ที่ต้องระวัง! รู้ทัน ป้องกันได้ง่ายนิดเดียว

5 โรคหน้าร้อน ที่ต้องระวัง รู้ทัน ป้องกันได้ง่ายนิดเดียว

โรคหน้าร้อน ที่ต้องระวัง! อากาศร้อนจัดในช่วงหน้าร้อน ส่งผลต่อร่างกายของเราหลายอย่าง ไม่ได้ทำให้แค่รู้สึกหงุดหงิด รำคาญ เท่านั้น แต่ยังแฝงอันตรายจากโรคภัยไข้เจ็บที่มักมาเยือนในช่วงนี้ด้วย เพราะโรคบางชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน เราจึงจำเป็นต้องรู้จักโรคที่เกิดขึ้นบ่อยในหน้าร้อนนี้ เพื่อหาทางป้องกันไว้ก่อน วันนี้ AIAGoodLife จะมาแนะนำ 5 โรคยอดฮิตในหน้าร้อนที่ต้องระวัง! ว่าจะแต่จะมีโรคอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

รูปภาพประกอบโรคอุจจาระร่วง

1. โรคอุจจาระร่วง

อีกหนึ่งในโรคหน้าร้อนยอดฮิตของคนไทย คือ โรคอุจจาระร่วง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำมากกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้วจะถ่ายมากกว่าสามครั้งต่อวัน อาจเกิดจากหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต อาหารเป็นพิษ หรือแพ้อาหาร การติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงคือไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต

อาการของโรคอุจจาระร่วงอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีดังนี้

  • ถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ
  • ถ่ายบ่อยกว่าปกติ (มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน)
  • ปวดท้อง
  • ปวดบิด
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • อ่อนเพลีย

วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วง

  • ล้างมือบ่อยๆ ล้างมือด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ โดยเฉพาะหลังจากใช้ห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนรับประทานอาหาร
  • เตรียมอาหารอย่างปลอดภัย ปรุงอาหารให้สุกและเก็บอาหารในตู้เย็นอย่างเหมาะสม
  • ดื่มน้ำสะอาด ดื่มน้ำบรรจุขวดหรือน้ำที่ผ่านการต้มหรือกรอง

รูปประกอบโรคผิวไหม้แดด

2. โรคผิวไหม้แดด

โรคผิวไหม้แดด คือ ภาวะที่ผิวหนังเกิดการอักเสบจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงแดดมากเกินไป มักพบในช่วงฤดูร้อน หรือวันที่อากาศแจ่มใส รังสียูวีสามารถทำลายเซลล์ผิวหนังและทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ผิวแดง แสบร้อน คัน บวม ผิวลอก ตุ่มน้ำ ไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังด้วยนะ แนะนำทำประกันโรคมะเร็งไว้ไม่เสียหาย

อาการของผิวไหม้แดดมักปรากฏขึ้นภายใน 2-6 ชั่วโมงหลังจากสัมผัสกับรังสียูวี และอาจรุนแรงขึ้นในช่วง 24-72 ชั่วโมงต่อมา โดยทั่วไปแล้ว ผิวไหม้แดดจะหายไปเองภายใน 7-10 วัน แต่ในบางกรณีอาจใช้เวลานานกว่านั้น

วิธีป้องกันโรคผิวไหม้แดด

  • ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 หรือสูงกว่า โดยทาครีมกันแดดให้ทั่วร่างกาย 20 นาทีก่อนออกแดด และทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือหลังจากว่ายน้ำหรือเหงื่อออก
  • สวมเสื้อผ้ามิดชิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หมวก และแว่นกันแดด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 น. ถึง 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แสงแดดแรงที่สุด
  • ทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักและผลไม้

ภาพประกอบโรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด

3. โรคฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด

โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป มักเกิดจากการทำงาน การใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน หรืออยู่ในอากาศร้อนเป็นเวลานาน อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ

อาการของโรคฮีทสโตรก คือ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศา ผิวหนังแห้งและร้อน เหงื่อจะออกน้อยหรือไม่ออกเลย หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำมาก ชักกระตุก หมดสติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรก

  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนจัด
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ จิบน้ำบ่อยๆ แม้จะไม่รู้สึกกระหายก็ตาม ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ
  • สังเกตอาการของตัวเอง หากรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน ควรรีบเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ดื่มน้ำเย็น พักผ่อน และเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น

ภาพประกอบโรคอาหารเป็นพิษ

4. โรคอาหารเป็นพิษ

โรคอาหารเป็นพิษ คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับเชื้อโรคหรือสารพิษจากอาหารที่ปนเปื้อน ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ไข้ หนาวสั่น มึนงง อ่อนเพลีย สาเหตุหลักๆ มาจากการรับประทานอาหารที่บูดเสีย ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรือปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต

อาการมักเกิดขึ้นภายใน 1-24 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร

วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ

อาการของโรคอาหารเป็นพิษจะปรากฏขึ้นหลังจากทานอาหารปนเปื้อน 1-72 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ
  • อาจมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ

ในบางกรณี อาจมีอาการรุนแรง เช่น ถ่ายเป็นมูกเลือด อุจจาระมีสีดำ ปัสสาวะน้อย ชักกระตุก หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ภาพประกอบ อหิวาตกโรค

5. อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ในทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน โดยมักพบในอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค มักเกิดในชุมชนแออัดและในถิ่นที่มีน้ำไม่สะอาดใช้ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว พบได้กับคนทุกเพศทุกวัยแต่ มักเกิดในช่วงฤดูร้อนของทุกปี เป็นโรคหน้าร้อนรุนแรงที่น่ากลัวเลยค่ะ

อาการของโรคอหิวาตกโรคจะแสดงอาการหลังจากรับเชื้อ 12 ชั่วโมง ถึง 5 วัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มักมีสีขาวขุ่น คล้ายน้ำซาวข้าว อาเจียน ปวดท้อง ชักกระตุก อ่อนเพลีย กระหายน้ำมาก ปัสสาวะน้อย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำและเสียชีวิตได้

วิธีป้องกันอหิวาตกโรค

  • กินอาหารปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
  • เลือกทานอาหารปรุงสุกใหม่
  • ดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่ปลอดภัย
  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน
  • เก็บขยะให้มิดชิด ป้องกันแมลงวันตอม
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรค

 

ทำไมอากาศร้อนถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค?

  • อุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรค : เชื้อโรคบางชนิด เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ชอบอุณหภูมิที่อบอุ่น อากาศร้อนจะยิ่งกระตุ้นให้เชื้อโรคเหล่านี้เจริญเติบโตและแพร่กระจายได้เร็วขึ้น
  • เหงื่อ : อากาศร้อนทำให้เราเหงื่อออกมาก เหงื่อที่เปียกตามร่างกายเป็นเวลานาน จะสร้างความชื้น สะสมแบคทีเรีย และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคผิวหนัง โรคติดเชื้อ และโรคทางเดินหายใจ
  • ระบบภูมิคุ้มกัน : อากาศร้อนอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
  • พฤติกรรม : อากาศร้อนอาจเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา เช่น การดื่มน้ำน้อยลง การอยู่ใกล้ชิดผู้คนมากขึ้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

สรุปข้อมูล 5 โรคหน้าร้อน

โรคหน้าร้อน มักพบในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง, โรคผิวไหม้แดด, โรคฮีทสโตรก, โรคอาหารเป็นพิษ และอหิวาตกโรค

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การรู้เท่าทันและเตรียมตัวให้พร้อม โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ในช่วงหน้าร้อนได้

แหล่งข้อมูล